ผลลัพธ์การเรียนรู้

การสร้างชุดการทดลองเคมีแบบย่อส่วน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิกิริยารีดอกซ์

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการทดลองเคมีแบบย่อส่วน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิกิริยารีดอกซ์ ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จำนวน 3 ห้องเรียน รวม 120 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิกิริยารีดอกซ์ โดยชุดการทดลองแบบย่อส่วนที่ออกแบบมานี้มุ่งเน้นให้ผู้ที่ศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ และเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปสู่หลักการ ได้ปฏิบัติการทดลองจากวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายและมีราคาถูก ประหยัดสารเคมีและเวลาในการทำการทดลอง อีกทั้งยังมีความปลอดภัยที่สูง ผสมผสานทั้งทฤษฎีและปฏิบัติก่อให้เกิดทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีความกระตือรือร้นในการเรียนผ่านชุดการทดลองที่น่าตื่นเต้น และเสริมสร้างจิตสำนึกในรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และมีความรู้ความเข้าใจในวิชาเคมีดียิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. รายงานผลการทดลองด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3. แบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก

2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนร้อยละ 80.00 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม)

3) นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การสร้างชุดการทดลองเคมีแบบย่อส่วน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิกิริยารีดอกซ์

2.67_รายงานการวิจัยในชั้นเรียน-พัชรี-ปรับแล้ว.pdf